ในปี 2567 มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีมูลค่ารวม 1.13 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 10 ปี และขยายตัวในเกณฑ์สูงจากปีก่อนร้อยละ 35 โดยทิศทางของประเภทอุตสาหกรรมที่มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงสุด ในปี 2567 ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.37) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.35) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.99) อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.70) และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.31) และหากพิจารณาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในปี 2567 พบว่า มูลค่าเงินลงทุนรวมอยู่ที่ 8.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 โดยประเทศที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมมากที่สุด สิงคโปร์ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.97) จีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.99) ฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.89) ไต้หวัน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.00) และญี่ปุ่น (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.91) ตามลำดับ
ในด้านธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีทิศทางฟื้นตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งจะหนุนผลประกอบการของธุรกิจจากยอดขายและให้เช่าที่ดินที่จะกลับมาขยายตัวดี โดยรายได้ของผู้ประกอบการอาจแตกต่างกัน ไปขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของนิคมฯ สรุปได้ดังนี้
(1) ทิศทางเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจ/การเมืองในประเทศ
(2) นโยบายของบริษัทข้ามชาติในการกระจายฐานการผลิตและการลงทุนมายังประเทศไทย
(3) ศักยภาพทางด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ของประเทศ
(4) กฎระเบียบ/ หลักเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐที่สนับสนุนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมแก่นักลงทุนในนิคมฯ ทั้งนี้ นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในนิคมฯ ในไทยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ จีน และสิงคโปร์ ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์เป็นกลุ่มที่มีการลงทุนมากที่สุดในนิคมฯ ทั่วประเทศ
แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานสภารพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หน่วย: ล้านบาท
ปี 2567 | ปี 2566 | เปลี่ยนแปลง | ร้อยละ | |
รายได้จากการดำเนินงาน | 19,686.53 | 19,275.39 | 411.14 | 2.13 |
ต้นทุนจากการดำเนินงาน | (15,511.77) | (15,377.55) | (134.22) | 0.87 |
รายได้เงินปันผล | 121.75 | 78.09 | 43.66 | 55.91 |
กำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น | 1,600.78 | (1,139.73) | 2,740.51 | 240.45 |
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและตื้นทุนในการจัดจำหน่าย | 967.01 | 800.70 | 166.31 | 20.77 |
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม | 103.42 | 82.42 | 21.00 | 25.48 |
ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า | - | (6.84) | 6.84 | -100.00 |
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้(2) | 5,449.23 | 2,141.38 | 3,307.85 | 154.47 |
ต้นทุนทางการเงิน | (933.33) | (1,027.12) | 93.79 | -9.13 |
รายได้(ค่าใช้จ่าย)ภาษีเงินได้ | (516.57) | 39.18 | (555.75) | -1,418.45 |
กำไรสำหรับปี | 3,995.81 | 1,095.54 | 2,900.27 | 264.73 |
การแบ่งปันกำไร | ||||
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ | 3,853.52 | 980.15 | 2,873.37 | 293.16 |
ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม | 142.27 | 115.38 | 26.89 | 23.31 |
บริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับปี 2567 เท่ากับ 3,995.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 264.70 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน เนื่องจากบริษัทมีรายได้ (1) จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (2) รายได้จากการขายไฟฟ้า (3) รายได้จากการให้บริการ และมีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมบริษัทและบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจแยกเป็นส่วนงานธุรกิจหลักได้ 2 ประเภทคือธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และระบบสาธารณูปโภค ผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำใช้เพื่ออุตสาหกรรม
หน่วย: ล้านบาท
ปี 2567 | ปี 2566 | ปี 2565 | |
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ | 7,093.08 | 5,483.38 | 2,443.61 |
รายได้จากการขายไฟฟ้า | 11,807.31 | 13,094.17 | 13,995.61 |
รายได้จากการให้บริการและให้เช่า | 786.14 | 697.84 | 728.88 |
รวม | 19,686.53 | 19,275.39 | 17,168.10 |
รายได้จากการประกอบกิจการ ของบริษัทและบริษัทย่อยคือ รายได้จากการขายที่ดิน, รายได้จากการขายไฟฟ้า, รายได้จากการให้บริการและให้เช่า ในปี 2567 มีรายได้จากการประกอบธุรกิจหลัก 19,686.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 19,275.39 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 17,168.10 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
ธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการขายที่ดิน ปี 2567 เท่ากับ 7,093.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 5,483.38 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 2,443.61 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจในประเภทเขต/สวนอุตสาหกรรมจำนวน 10 โครงการ ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดระยอง (อำเภอบ้าน ค่ายและปลวกแดง), จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดชลบุรี (บ่อวิน, เขาคันทรง, แหลมฉบัง, หนองใหญ่และเขาไม้แก้ว) ซึ่งลูกค้าให้ความสนใจด้านทำเลที่ตั้งและการคมนาคมขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วประกอบกับสิทธิประโยชน์ภายใต้พรบ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยในด้านการตลาดบริษัทได้ร่วมมือกับ Nippon Steel Trading Corporation ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเข้ามาทำการตลาดให้ นอกจากนี้บริษัทยังเสริมด้านการตลาดโดยการจัดตั้งทีมงานฝ่ายการตลาดของบริษัทที่เป็น คนไทยและคนจีนโดยเฉพาะ เพื่อคอยดูแลนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศทั้งในด้านก่อนการขายและบริการหลังการขาย ในปีนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวจีน และญี่ปุ่นรองลงมา การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามงบการเงินของบริษัท และบริษัทย่อยในปีนี้จะเป็นของโครงการที่พระนครศรีอยุธยา, ระยองปลวกแดง, ชลบุรี-แหลมฉบัง, ชลบุรี-เขาคันทรง ชลบุรี-บ่อวิน และชลบุรี-หนองใหญ่
ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า รายได้จากการขายไฟฟ้า ปี 2567 เท่ากับ 11,807.31 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.4 ปัจจัยหลักมาจากค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ที่ลดลงตามประกาศของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ประกอบกับการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ในธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม มีการทยอยหมดอายุในปี 2567
ธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการและให้เช่า รายได้หลักๆ มาจากการจำหน่ายน้ำเพื่ออุสาหกรรมและการบำบัดน้ำเสีย ค่าส่วนกลางและการให้เช่า Flat Apartment เพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัทมีการขยายโครงการของแต่ละที่ทำให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
หน่วย: ล้านบาท
ปี 2567 | ปี 2566 | เปลี่ยนแปลง | ร้อยละ | |
ต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์ – สุทธิ | 4,173.76 | 2,902.68 | 1,271.08 | 43.8 |
ต้นทุนการขายไฟฟ้า – สุทธิ | 10,770.61 | 11,917.98 | (1,147.37) | (9.6) |
ต้นทุนการให้บริการและให้เช่า – สุทธิ | 567.40 | 556.89 | 10.51 | 1.9 |
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและต้นทุนในการจัดจำหน่าย | 967.01 | 800.70 | 166.31 | 20.8 |
ต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์ ปี 2567 และ 2566 เท่ากับ 4,173.76 ล้านบาท และ 2,902.68 ล้านบาท ตามลำดับ ต้นทุนขายที่ดินในปี 2567 มีอัตราสูงกว่าปี 2566 ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ต้นทุนการขายไฟฟ้า - สุทธิ ปี 2567 และ 2566 เท่ากับ 10,770.61 และ 11,917.98 ล้านบาท ตามลำดับ โดยต้นทุนในปี 2567 ลดลงจากปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 9.6 จากราคาของก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง
ต้นทุนการให้บริการและให้เช่า ปี 2567 และ 2566 เท่ากับ 567.40 และ 556.89 ล้านบาท ตามลำดับ โดยต้นทุนในปี 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและต้นทุนในการจัดจำหน่ายปี 2567 ของบริษัทและบริษัทย่อย เท่ากับ 967.01 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 166.31 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.50 ของรายได้จากการประกอบกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจเพื่อติดต่อลูกค้า, การโฆษณาประชาสัมพันธ์, ค่านายหน้า, ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับลูกค้า
ต้นทุนทางการเงินปี 2567 บริษัทและบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงิน เท่ากับ 933.33 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง 93.79 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.13 จากการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี และเงินกู้ยืมระยะยาวที่ครบกำหนดชำระเงินตามเงื่อนไขในสัญญา เงินกู้ยืมดังกล่าวนำมาใช้ในการลงทุนและขยายโครงการต่าง ๆ ของ บริษัทและบริษัทย่อย เป็นหนี้สินที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ที่ทำให้เกิดรายได้ในอนาคต
อัตราดอกเบี้ยใน ปี 2567 และ 2566 มีอัตราดอกเบี้ยของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย | ||
2567 | 2566 | |
หนี้สินตามสัญญาเช่า * | 3.51 - 5.88% | 3.51 - 5.79% |
เจ้าหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระ | 4.00 - 5.06% | 4.00 - 5.01% |
หุ้นกู้ | 3.90 - 4.20% | 3.85 - 4.25% |
* สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป กิจการต้องนำมาตร ฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า มาปฏิบัติใช้ ซึ่งมาตราฐานได้กำหนดหลักการของกรรับรู้รายกร การวัดมูลค่า กรแสดงรายกรและการเปิดเผยข้อมูลของสัญญาเช่า และกำหนดให้ผู้เช่ารับรู้สินทรัพย์สินและหนี้สินสำหรับสัญญาเช่าทุกรายการที่มีระยะเวลาในการเช่ามากกว่า 12 เดือน เว้นแต่สินทรัพย์อ้างอิงนั้นมีมูลค่าต่ำ ซึ่งรายการดอกเบี้ยนั้น เกิดจากการคิดลดจากเงินที่จะต้องจ่ายตามสัญญาเช่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้
รายการ | 2567 ล้านบาท |
2566 ล้านบาท |
เปลี่ยนแปลง | ร้อยละ |
สินทรัพย์หมุนเวียน | 190267.38 | 21,788.97 | (2,521.59) | (11.6) |
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน | 28,228.58 | 25,906.88 | 2,321.70 | 9.0 |
รวมสินทรัพย์ | 47,495.96 | 47,695.85 | (199.89) | (0.4) |
หนี้สินหมุนเวียน | 11,168.23 | 11,291.07 | (122.84) | (1.1) |
หนี้สินไม่หมุนเวียน | 13,122.76 | 16,493.36 | (3,370.59) | (20.4) |
รวมหนี้สิน | 24,290.99 | 27,761.90 | (3,470.91) | (12.5) |
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น | 23,204.95 | 19,933.95 | 3,271.00 | 16.4 |
สินทรัพย์รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ 31 ธันวาคม 2567 เท่ากับ 47,495.96 ล้านบาท ลดลง 199.89 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งนี้มีรายการสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงสำคัญดังต่อไปนี้
สินทรัพย์หมุนเวียน ณ สิ้นปี 2567 เท่ากับ 19,267.38 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.60 จากปีก่อน โดยมีรายการสำคัญดังนี้
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ณ สิ้นปี 2567 เท่ากับ 28,228.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันในปีก่อน 2,321.70 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9 โดยมีรายการสำคัญ ดังนี้
บริษัทและบริษัทย่อย มีหนี้สินรวม 24,290.99 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 3,470.91 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2567 เท่ากับ 1.05 ลดลงจากปีก่อน ซึ่งมีเท่ากับ 1.39 ทั้งนี้มีรายการหนี้สินที่เปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังต่อไปนี้
หนี้สินหมุนเวียน ณ สิ้นปี 2567 เท่ากับ 11,168.23 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 122.84 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.10 โดยมีรายการสำคัญดังนี้
โครงการ | มูลค่าตามสัญญา | เงินถึงกำหนดชำระ | เงินรับชำระสะสม | คงเหลือจำนวนที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ | |||
ล้านบาท | ล้านบาท | % | ล้านบาท | % | ล้านบาท | % | |
อยุธยา |
1,472.52 | 915.38 | 62.16 | 915.38 | 62.16 | 557.14 | 37.84 |
ระยอง – บ้านค่าย |
72.02 | 16.19 | 22.49 | 16.19 | 22.49 | 55.82 | 77.51 |
ระยอง – ปลวกแดง |
212.04 | 104.02 | 49.05 | 104.02 | 49.05 | 108.03 | 50.95 |
ปราจีนบุรี |
498.52 | 373.89 | 75.00 | 373.89 | 75.00 | 124.63 | 25.00 |
ชลบุรี – บ่อวิน |
61.99 | 36.81 | 59.37 | 36.81 | 59.37 | 25.19 | 40.63 |
ชลบุรี – แหลมฉบัง |
892.90 | 568.14 | 63.63 | 568.14 | 63.63 | 324.76 | 36.37 |
ชลบุรี – หนองใหญ่ |
1,584.10 | 1,256.41 | 79.31 | 1,256.41 | 79.31 | 327.69 | 20.69 |
ชลบุรี – เขาคันทรง | 119.69 | 46.64 | 38.97 | 46.64 | 38.97 | 73.05 | 61.03 |
4,913.78 | 3,317.48 | 3,317.48 | 1,596.31 |
หนี้สินไม่หมุนเวียน ณ สิ้นปี 2567 เท่ากับ 13,122.76 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 16,493.36 ล้านบาท ลดลง 3,348.07 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.40 จากรายการสำคัญดังนี้
รายการ | 2567 ล้านบาท |
2566 ล้านบาท |
เปลี่ยนแปลง ล้านบาท |
ร้อยละ |
ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ | 20,220.85 | 17,118.85 | 3,102.00 | 18.10 |
ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม | 2,984.10 | 2,815.10 | 169.00 | 6.00 |
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น | 23,204.95 | 19,933.95 | 3,271.00 | 16.40 |
ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ ณ สิ้นปี 2567 เท่ากับ 20,220.85 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 17,118.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเนื่องจากรับรู้กำไรสุทธิสำหรับปี 3,910.05 ล้านบาท หักด้วยการจ่ายเงินปันผล 808.05 ล้านบาท
ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ณ สิ้นปี 2567 เท่ากับ 2,984.10 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 2,815.10 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการรับรู้กำไรสำหรับปี 142.27 ล้านบาท
จากการผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายทำให้คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการจ่ายปันผลสำหรับปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 31 ของกำไรสำหรับปีของส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
รายการ | งบการเงินรวม (หน่วย : ล้านบาท) | ||
2567 | 2566 | 2565 | |
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน | 5,149.41 | 10,037.16 | 1,090.62 |
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) ในกิจกรรมลงทุน | (3,004.80) | (1,157.78) | 357.18 |
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน | (3,413.79) | (6,300.74) | (699.99) |
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) - สุทธิ | (1,269.18) | 2,578.65 | 747.81 |
ผลกระทบจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย | - | (1.36) | - |
ผลกระทบจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย | - | - | (15.65) |
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี | 6,001.69 | 3,424.41 | 2,692.25 |
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี | 4,732.52 | 6,001.69 | 3,424.41 |
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทและบริษัทย่อย มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 4,732.52 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันปีก่อน 1,269.18 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.15 โดยมีรายการสำคัญ ดังนี้
อัตราส่วนสภาพคล่องของบริษัทฯ และบริษัทย่อยใน ปี 2567 และ 2566 ซึ่งเท่ากับ 1.73 เท่า และ 1.93 เท่า ตามลำดับ อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว ปี 2567 และ 2566 ซึ่งเท่ากับ 1.36 เท่า และ 0.95 เท่า ตามลำดับ โดยจะเห็นว่าบริษัทฯ มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจและการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาที่ดินและให้บริการเพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้า อย่างไรก็ดี หากบริษัทฯ และบริษัทย่อยคาดว่ามีปัจจัยใดที่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทฯ บริษัทฯ จะดำเนินการหาทางป้องกัน แก้ไข และปรับปรุง เพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าวให้ลดลง หรือหมดไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และบริษัทย่อย
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ปี 2567 และ 2566 อยู่ที่ 1.05 เท่า และ 1.39 เท่า ตามลำดับ ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย ปี 2567 และ 2566 อยู่ที่ 7.73 เท่า และ 3.77 เท่า ตามลำดับ และมีอัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพัน ปี 2567 และ 2566 อยู่ที่ 1.16 เท่า และ 0.98 เท่า ตามลำดับ
ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท มีอัตรากำไรขั้นต้น ปี 2567 และ 2566 อยู่ที่ร้อยละ 21.21 และร้อยละ 20.22 ตามลำดับ อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ปี 2567 และ 2566 อยู่ที่ร้อยละ 24.79 และร้อยละ 16.07 ตามลำดับ อัตรากำไรสุทธิ ปี 2567 และ 2566 อยู่ที่ร้อยละ 19.58 และร้อยละ 5.64 ตามลำดับ และอัตราส่วนเงินสดต่อการทำกำไร ปี 2567 และ 2566 อยู่ที่ร้อยละ 97.66 และร้อยละ 499.56 ตามลำดับ
บริษัทมีแหล่งเงินทุนหลักเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ คือ เงินทุนจากการดำเนินงาน และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินทั้งระยะยาวและระยะสั้น โดยจะมีการประเมินโครงสร้าง ทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อให้มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำเพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดต่อกิจการ
บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีแผนการขยายธุรกิจในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยการขยายการลงทุนในธุรกิจด้านพัฒนาเขต/สวนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี ซึ่งในภูมิภาคนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ทั้งระบบสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ ได้แก่
(1) ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่อาจทำให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกขยายตัวต่ำ กว่าสมมติฐานการประมาณการ ประกอบด้วย ความเสี่ยงจากสถานการณ์ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, ความผันผวนของระดับ
ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์, การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากปัญหาหนี้สินในภาค อสังหาริมทรัพย์และหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูง
(2) นโยบายของบริษัทข้ามชาติในการกระจายฐานการผลิตและการลงทุนมายังประเทศไทย
(3) ศักยภาพทางด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ของประเทศและ
(4) กฎระเบียบ/หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของภาครัฐที่สนับสนุนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมแก่นักลงทุนในนิคมฯ
(5) การใช้สิทธิพิเศษทางการค้า (FTA) และมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ข้อตกลงทางการค้าเสรี (Free trade agreement) ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญด้านการค้าระหว่างประเทศ ในปัจจุบันกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปิดศีล FTA ไทย - EFTA ได้สำเร็จ ถือเป็น FTA ฉบับแรกที่ไทยทำกับกลุ่มประเทศในยุโรป โดยจะมีการลงนาม FTA ฉบับใหม่นี้ในวันที่ 23 มกราคม 2568 ซึ่งจะทำให้ไทยมี FTA ทั้งหมด 16 ฉบับ กับ 23 ประเทศเขตเศรษฐกิจการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) นอร์เวย์ (3) ไอซ์แลนด์ และ (4) ลิกเตนสไตน์ สามารถสรุปการเจรจาได้ 15 เรื่อง โดยเป็นข้อตกลงที่มีมาตรฐานสูง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแต้มต่อให้ผู้ประกอบการไทยในการประกอบธุรกิจ และปูทางสำหรับการเจรจา FTA กับคู่ค้าสำคัญอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป ในช่วง 11 เดือนของปี 2567 ไทยและ EFTA มีมูลค่าการค้ารวม ร้อยละ 2.05 ของการค้าทั้งหมดของไทยกับโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 24 โดยในปี 2568 มีการให้เร่งรัดการเจรจา FTA อีกหลายฉบับ อาทิ ไทย-สหภาพยุโรป (EU)/ไทย-เกาหลีได้ / ไทย-กูฎาน / ไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) / อาเซียน - แคนาดา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ และการส่งออกของไทย รวมถึงเร่งจัดทำความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเจรจา FTA ในอนาคตกับประเทศคู่ค้าศักยภาพ ได้แก่ ไทย-สหราชอาณาจักร / ไทย-ยูเรเซีย (Eurasian Economic Union: EAEU) รวมทั้งเดินหน้ายกระดับ FTA ที่ไทยมีอยู่แล้ว อาทิ ความตกลง FTA ไทย - เปรู / ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA)/FTA อาเซียน-จีน/FTA อาเซียน-อินเดีย/ FTA อาเซียน-เกาหลีได้ให้ ความตกลงมีความทันสมัย สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน ตอบโจทย์การอำนวยความสะดวกทางการค้าของผู้ประกอบการ โดยการเจรจาจัดทำ FTA จะช่วยเพิ่มพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ ลดอุปสรรคทางการค้า สร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างชาติ ยกระดับมาตรฐาน สร้างความได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยในการส่งออก เพิ่มบทบาทของไทยในห่วงโซ่อุปทานโลก และสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของภูมิภาค รวมถึงกระชับความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์